Site icon Romrawin

วิธีการรักษานอนกรนให้หายต้องทำอย่างไร

86

เมื่อเสียงกรนระหว่างนอนหลับสามารถทำลายความสุขของผู้ที่นอนอยู่ข้างกายคุณ และยังเป็นสัญญาณที่เตือนว่าอาจจะเกิดปัญหากับสุขภาพร่างกายของคุณ ความกังวล และความเหนื่อยล้า จากการพักผ่อนไม่เพียงพอ ยังส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคุณอีกด้วย ซึ่งการแก้ไขปัญหาด้วยการเร่งหาสาเหตุ และเข้ารับการรักษานอนกรนด้วยวิธีการที่ถูกต้อง นับได้ว่าเป็นเรื่องที่ผู้มีปัญหานอนกรนไม่ควรมองข้าม เพราะถ้าหากปล่อยไว้เนิ่นนาน สุขภาพของคุณอาจจะแย่ลงเกินกว่าที่คาดคิดก็เป็นได้ โดยวิธีการรักษานอนกรนปัจจุบันมีทางเลือกอย่างหลากหลาย แล้วจะมีวิธีรักษานอนกรนให้หายได้ด้วยวิธีใดบ้างมีดังนี้ค่ะ

1. รักษานอนกรนด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง

สำหรับผู้ที่มีอาการนอนกรนสามารถเริ่มต้นรักษานอนกรนง่ายๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง ได้แก่ การปรับสุขอนามัยการนอน เช่น นอนหลับพักผ่อนให้พอเพียง เข้านอนและตื่นนอนอย่างตรงเวลาสม่ำเสมอ การงดเว้นเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก่อนนอน การหลีกเลี่ยงการใช้ยานอนหลับ และยาที่มีฤทธิ์กดประสาท หรือคลายกล้ามเนื้อ งดเว้นการดื่มชา กาแฟ และหยุดสูบบุหรี่ในช่วงบ่าย ที่สำคัญในรายที่อ้วน หรือน้ำหนักเกินต้องรักษานอนกรน ด้วยการลดน้ำหนัก ควบคุมอาหารและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอค่ะ

นอกจากคนนอนกรนควรต้องปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตดังกล่าวแล้ว ทางที่ดีควรพบแพทย์เพื่อรักษานอนกรนและรักษาปัจจัยเสี่ยงหรือโรคต่างๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของการนอนกรนได้ค่ะ เช่น ถ้าคุณมีโรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบ ต่อมทอลซิลอักเสบ เนื้องอกบริเวณทางเดินหายใจ โรคทางระบบประสาทและกล้ามเนื้อ หรืออื่นๆ ก็ควรรับการรักษาโรคเหล่านี้ควบคู่กันไปกับการรักษานอนกรนด้วยนะคะ

2. รักษานอนกรนโดยใช้เครื่องมือในช่องปาก (Oral Appliances)

ในรายที่เป็นไม่รุนแรง สามารถเลือกใช้วิธีการรักษานอนกรน โดยใช้เครื่องมือในช่องปาก (Oral Appliances) เป็นเครื่องมือทันตกรรมที่สวมใส่ในปากขณะนอนหลับ เพื่อป้องกันไม่ให้ลิ้นหรือเนื้อเยื่ออ่อนในลำคอตกลงไปอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับ ทำให้ทางเดินหายใจกว้างขึ้นขณะนอนหลับ ทำให้ผู้ที่มีปัญหานอนกรน หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับมีอากาศหายใจพอเพียง สามารถนอนหลับได้อย่างปกติสุขค่ะ เครื่องครอบฟันนี้สามารถใช้รักษานอนกรนเพียงชนิดเดียว หรือใช้ร่วมกับเครื่องเป่าลม (CPAP) ในการรักษานอนกรน หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้ค่ะ

เครื่องครอบฟันรักษานอนกรนสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ดังนี้

 

3. รักษานอนกรนด้วยการผ่าตัด (Surgical Treatment)

โดยในปัจจุบันมีวิธีการผ่าตัดเพื่อรักษานอนกรนหลายวิธีตามอาการที่แตกต่างกัน ดังนี้ค่ะ

จะเห็นว่าการรักษานอนกรนด้วยวิธีผ่าตัดแต่ละวิธีได้ผลดีไม่เท่ากัน ซึ่งอาจมีข้อดีข้อเสียและเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคนต่างกันไปค่ะ ทางที่ดีที่สุดคุณจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนตัดสินใจรับการรักษานอนกรนค่ะ

4. รักษานอนกรนด้วยเลเซอร์ Snore Laser (สนอร์ เลเซอร์)

สำหรับผู้ที่ไม่อยากรักษานอนกรนด้วยการผ่าตัด หรือไม่สะดวกในการติดตั้งเครื่องมือระหว่างนอน ล่าสุดสามารถรักษานอนกรนด้วยเลเซอร์ Snore Laser (สนอร์ เลเซอร์)  เป็นนวัตกรรมใหม่ที่ออกแบบและพัฒนาให้สามารถส่งพลังงานลงลึกถึงกล้ามเนื้อบริเวณทางเดินหายใจส่วนต้น เพื่อเข้าหดกระชับกล้ามเนื้อบริเวณนั้นอย่างปลอดภัย ในระหว่างทำจะรู้สึกอุ่นๆ ในปากและลำคอ อาจมีอาการคอแห้งได้บ้าง โดยคุณสามารถจิบน้ำระหว่างทำการรักษานอนกรนได้ค่ะ

ทั้งนี้ จุดเด่นของ Snore Lase ที่แตกต่างจากการรักษานอนกรนทั่วไป คือ สำหรับรักษานอนกรนที่เกิดจากทางเดินหายใจส่วนต้นหย่อน เช่น บริเวณลิ้นไก่ หรือเพดานอ่อน ผู้ที่ใช้ CPAP ไม่ได้ ผู้ที่ใช้ที่ครอบฟันหรือที่ยึดลิ้นไม่ได้ และที่สำคัญคือ ไม่ต้องผ่าตัด ไม่เจ็บ และไม่ต้องพักฟื้นค่ะ เพียงคุณหลีกเลี่ยงการดื่มหรือรับประทานอาหารร้อน หรือเย็นจัด และเลี่ยงอาหารรสเผ็ดหลังทำ 24 ชั่วโมง ซึ่งจะเห็นผลอาการกรนลดลงถึง 80% ผู้ที่เข้ารับการรักษานอนกรนต้องทำต่อเนื่อง 3 ครั้ง ห่างกัน 2 และ 4 สัปดาห์ตามลำดับ กรณีทำมากกว่า 3 ครั้ง ให้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจแพทย์ค่ะ

Exit mobile version