Site icon Romrawin

เตือนภัย! ฉีดฟิลเลอร์แล้วบวมผิดปกติ อันตรายจริงไหม?

เตือนภัย! ฉีดฟิลเลอร์แล้วบวมผิดปกติ อันตรายจริงไหม?

เตือนภัย! ฉีดฟิลเลอร์แล้วบวมผิดปกติ อันตรายจริงไหม?

ฉีดฟิลเลอร์แล้วบวมผิดปกติ อันตรายจริงไหม?

เกิดเรื่องราวสุดสะเทือนใจในวงการความงาม! เมื่อมีผู้เสียหายรายหนึ่งได้ออกแชร์ประสบการณ์ผ่านโลกออนไลน์ว่า หลังเข้ารับการฉีดฟิลเลอร์เมื่อหลายปีก่อน แต่จู่ ๆ กลับเกิดอาการอักเสบอย่างรุนแรง ใบหน้าบวม ๆ ยุบ ๆ ผิดปกติอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นใจ และการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก โดยในกรณีนี้ นับเป็นอุทาหรณ์ครั้งใหญ่ที่ตอกย้ำถึงความสำคัญ ในการเลือกคลินิกความงามที่ได้มาตรฐาน ใช้ฟิลเลอร์แท้ที่ผ่านการรับรองจาก อย. ไปจนถึงการปฏิบัติตัวหลังฉีดตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

ในบทความนี้ เราจะพามาเจาะลึก และไขข้อสงสัยเกี่ยวกับ การฉีดฟิลเลอร์แล้วบวมผิดปกติว่า เกิดจากสาเหตุอะไร? อันตรายไหม? มีวิธีแก้ไขอย่างไร? พร้อมแนะนำแนวทางในการปฏิบัติตัวหลังฉีดฟิลเลอร์อย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันการเกิดผลข้างเคียงอันตรายในระยะยาว

 

ฉีดฟิลเลอร์แล้วบวมผิดปกติ เกิดจากสาเหตุอะไร? อันตรายไหม? มีวิธีแก้อย่างไร?

 

ฉีดฟิลเลอร์แล้วบวมผิดปกติ เกิดจากสาเหตุอะไร?

ฉีดฟิลเลอร์แล้วบวม แบ่งออกเป็นกี่ประเภท?

อาการบวมหลังฉีดฟิลเลอร์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ขึ้นอยู่กับสาเหตุ และลักษณะของอาการ ดังนี้

การฉีดฟิลเลอร์แล้วบวมปกติ ส่วนใหญ่จะมาจากการบวมเข็ม บวมยาชา หรือบวมจากตัวฟิลเลอร์ ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังฉีดในทันที และจะค่อย ๆ ยุบลงเองภายใน 1 สัปดาห์หลังฉีด โดยสามารถดูแลตัวเองได้ด้วยการประคบเย็นเบา ๆ หรือปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์

การฉีดฟิลเลอร์แล้วบวมผิดปกติ สามารถสังเกตได้จากอาการบวม ๆ ยุบ ๆ ผิวเปลี่ยนสี ปวดรุนแรง กดเจ็บหรือมีหนองร่วมด้วย โดยส่วนใหญ่จะมาจากการติดเชื้อ อักเสบ หรือร่างกายเกิดปฏิกิริยาต่อต้านสารในฟิลเลอร์ ซึ่งในกรณีนี้อาจเกิดขึ้นหลังฉีดในทันที หรือเกิดขึ้นหลังฉีดไปแล้วหลายปี โดยสามารถแก้ไขได้ด้วยการฉีดสลายฟิลเลอร์ หรือขูดฟิลเลอร์ออก ขึ้นอยู่กับการประเมินของแพทย์

 

ฉีดฟิลเลอร์แล้วบวมผิดปกติ อันตรายไหม?

โดยปกติแล้ว หลังฉีดฟิลเลอร์จะมีอาการบวมแดงเล็กน้อยในบริเวณที่ฉีด ซึ่งถือเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นได้ทั่วไป และไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย โดยจะค่อย ๆ ดีขึ้นเอง ภายใน 1 สัปดาห์หลังฉีด แต่หากอาการบวมที่เกิดขึ้นนั้น มีลักษณะบวม ๆ ยุบ ๆ แบบผิดปกติสลับกันไป หรือมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดรุนแรง ผิวเปลี่ยนสี มีหนอง กดเจ็บ หรือเป็นไข้ อาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะแทรกซ้อนอันตราย ซึ่งต้องได้รับการรักษาจากแพทย์โดยด่วน

ฉีดฟิลเลอร์แล้วบวมผิดปกติ เกิดจากสาเหตุอะไร?

การฉีดฟิลเลอร์แล้วบวมผิดปกติ สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

การฉีดฟิลเลอร์แล้วบวมผิดปกติเกิดจาก การใช้ฟิลเลอร์ปลอมที่ไม่ผ่านการรับรอง อย. หรือใช้ฟิลเลอร์ที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งอาจมีสารปนเปื้อนที่ก่อให้เกิดการอักเสบอย่างรุนแรง จนทำให้เกิดอาการบวม ๆ ยุบ ๆ ผิดปกติหลังฉีดฟิลเลอร์ได้

การฉีดฟิลเลอร์แล้วบวมผิดปกติเกิดจาก ร่างกายเกิดปฏิกิริยาต่อต้านสารในฟิลเลอร์ ถึงแม้ว่าฟิลเลอร์ที่ใช้จะเป็นฟิลเลอร์แท้ แต่ในบางกรณีร่างกายอาจมองว่าฟิลเลอร์เป็นสารแปลกปลอม และพยายามกำจัด จนสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาต่อต้านสารในฟิลเลอร์ ทำให้เกิดอาการอักเสบ หรือบวมผิดปกติหลังฉีดได้ 

การฉีดฟิลเลอร์แล้วบวมผิดปกติเกิดจาก แพทย์ที่ฉีดขาดความรู้ และความชำนาญ ซึ่งแพทย์อาจพลาดฉีดผิดชั้นผิว หรือใช้เทคนิคในการฉีดที่ไม่ถูกต้อง จนทำให้เกิดอาการบวม เป็นก้อน หรือผิวไม่เรียบเนียนหลังฉีดได้

การฉีดฟิลเลอร์แล้วบวมผิดปกติเกิดจาก การใช้อุปกรณ์ที่ไม่ปลอดเชื้อ หรือขั้นตอนการฉีดที่ไม่สะอาด ซึ่งอาจมีการปนเปื้อนของเชื้อโรค หรือสิ่งสกปรกขณะฉีด จนส่งผลให้เกิดการอักเสบ หรือบวมผิดปกติหลังฉีดได้

การฉีดฟิลเลอร์แล้วบวมผิดปกติเกิดจาก การปฏิบัติตัวผิดวิธีหลังฉีด ซึ่งอาจเป็นการกระตุ้นให้เกิดอาการอักเสบ หรือบวมผิดปกติได้ เช่น การกดใบหน้าแรงเกินไป การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ หรือแม้แต่การรับประทานอาหารหมักดอง 

การฉีดฟิลเลอร์แล้วบวมผิดปกติเกิดจาก ฟิลเลอร์กระตุ้นการอักเสบในระยะยาว แม้จะเป็นกรณีที่พบได้ไม่บ่อยนัก แต่บางครั้งร่างกายอาจเกิดปฏิกิริยาอักเสบต่อฟิลเลอร์หลังฉีดไปแล้วหลายเดือน หรือหลายปี ซึ่งทำให้มีอาการบวม ๆ ยุบ ๆ ผิดปกติร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น ผิวเปลี่ยนสี ปวดรุนแรง หรือมีหนองหลังฉีดได้

 

ฉีดฟิลเลอร์แล้วบวมผิดปกติ แก้ไขได้อย่างไร?

แนวทางการรักษา หรือแก้ไขหลังฉีดฟิลเลอร์แล้วเกิดอาการบวมผิดปกติ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งการประเมินของแพทย์ ลักษณะของอาการ และระดับความรุนแรงของปัญหา ซึ่งโดยส่วนใหญ่ แนวทางในการแก้ไขฟิลเลอร์ มีดังนี้

การฉีดสลายฟิลเลอร์ จะสามารถใช้ได้ในกรณีที่ฉีดฟิลเลอร์ประเภท Hyaluronic Acid (HA) เท่านั้น โดยจะใช้เอนไซม์ที่มีชื่อว่า Hyaluronidase ในการเข้าไปทำลายโครงสร้างโมเลกุลของ HA ในบริเวณที่มีปัญหา ทำให้ฟิลเลอร์บริเวณที่ฉีดค่อย ๆ แตกตัว และยุบลงภายใน 1 สัปดาห์หลังฉีด ซึ่งอาจต้องมีการฉีดซ้ำอย่างน้อย 1 – 3 ครั้ง ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของปัญหา

การเจาะ หรือดูดฟิลเลอร์ออก จะสามารถใช้ได้ในกรณีที่ฟิลเลอร์ยังเป็นของเหลว มีอาการบวมอักเสบ และไม่สามารถสลายได้ด้วย Hyaluronidase จึงจำเป็นต้องใช้เข็มดูด หรือเจาะในบริเวณที่มีปัญหา เพื่อนำฟิลเลอร์ออก ซึ่งวิธีการนี้จะไม่สามารถนำฟิลเลอร์ออกมาได้ทั้งหมด 

การผ่าตัด หรือขูดฟิลเลอร์ออก จะสามารถใช้ได้ในกรณีที่ฟิลเลอร์เป็นก้อนแข็งขนาดใหญ่ มีพังผืดล้อมรอบ และไม่สามารถสลายได้ด้วย Hyaluronidase โดยจะผ่าตัดเปิดแผลในบริเวณที่มีปัญหา เพื่อนำฟิลเลอร์ออกมาโดยตรง ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน และไม่สามารถนำฟิลเลอร์ออกมาได้ทั้งหมด 

 

ข้อควรปฏิบัติหลังทำการฉีดฟิลเลอร์

 

ข้อควรปฏิบัติหลังทำการฉีดฟิลเลอร์

 

อาการฟิลเลอร์แล้วบวมผิดปกติ ถือเป็นที่สัญญาณเตือนไม่ควรมองข้าม หากเกิดขึ้นควรรีบทำการพบแพทย์โดยด่วน เพื่อตรวจประเมิน และทำการรักษาอย่างเหมาะสม ดังนั้น การเลือกคลินิกที่ได้มาตรฐาน แพทย์ที่มีความชำนาญ และใช้ฟิลเลอร์แท้ที่ผ่านการรับรองจาก อย. จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรพิจารณาอย่างถี่ถ้วน รวมทั้งหลังฉีดควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอันตรายในระยะยาว

 

*ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับสภาพผิวแต่ละบุคคล ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเข้ารับบริการ

*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯกำหนด

Exit mobile version