รวมวิธีการดูแลตนเองหลังเข้ารับการรักษานอนกรนที่ถูกต้อง

ในปัจจุบันนวัตรรมทางการแพทย์ได้พัฒนาวิธีรักษานอนกรนหรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ให้มีทางเลือกที่หลากหลาย อาทิ การรักษานอนกรนด้วยเลเซอร์ Snore Laser, รักษานอนกรนด้วยเครื่องช่วยหายใจ CPAP, รักษานอนกรนโดยใช้เครื่องมือในช่องปาก (Oral Appliances) หรือ รักษานอนกรนด้วยการผ่าตัด (Surgical Treatment) เป็นต้น สาเหตุก็เนื่องจากภัยร้ายที่แฝงอยู่ในอาการกรนซึ่งส่งผลเสียหายต่อสุขภาพและการใช้ชีวิตประจำวันสำหรับคนนอนกรนอย่างมากค่ะ

ใครบ้างที่ควรรักษานอนกรน

  • คนที่มีน้ำหนักเกิน พบว่าผู้ที่มีน้ำหนักมากจะมีทางเดินหายใจส่วนบนแคบกว่าผู้ที่มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • มีอาการของโรคภูมิแพ้บริเวณจมูก
  • คนที่มีสันจมูกเบี้ยวหรือคด รูปหน้าหรือคางผิดปกติ เช่น คางเล็ก คางหลุบ
  • ต่อมทอนซิลโตขวางทางเดินหายใจ
  • คนที่นิยมดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่เป็นประจำ
  • การรับประทานยาที่ทำให้เกิดอาการง่วง เช่น ยาแก้แพ้ ยานอนหลับ ยาคลายเครียด
  • ผู้ชายมีโอกาสนอนกรนมากกว่าผู้หญิง 6-10 เท่า
  • ผู้หญิงจะมีอาการนอนกรนเพิ่มขึ้นเมื่อเข้าวัยหมดประจำเดือน

การดูแลตนเองหลังรักษานอนกรน

Snore Laser ได้รับการออกแบบและพัฒนาให้สามารถส่งพลังงานลงลึกถึงกล้ามเนื้อบริเวณทางเดินหายใจส่วนต้น เพื่อเข้าหดกระชับกล้ามเนื้อบริเวณนั้น การรักษานอนกรนด้วยวิธีนี้ ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวภายในช่องปาก ช่วยลดการปิดกั้นทางเดินหายใจ ช่วยให้อาการกรนลดลงตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำค่ะ ทำให้การนอนหลับของคุณกลับสู่ภาวะปกติ หลับได้ลึก รู้สึกสดชื่นหลังตื่นนอนในวันรุ่งขึ้น โดยหลังรับการรักษานอนกรนด้วย Snore Laser ต้องดูแลตนเอง ดังนี้ค่ะ

  • หลีกเลี่ยงการดื่มหรือรับประทานอาหารที่มีอุณหภูมิร้อน หรือเย็นจัด และเลี่ยงอาหารรสเผ็ด หลังทำ 24 ชม.
  • สามารถดื่มน้ำอุ่นเพื่อลดอาการคอแห้งหลังทำได้

การผ่าตัด การรักษานอนกรนแบบผ่าตัด ช่วยทำให้ขนาดของทางเดินหายใจส่วนบนกว้างขึ้น ทำให้อาการนอนกรน หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับลดลง  โดยวิธีการรักษานอนกรนแบบผ่าตัดนี้แพทย์จะพิจารณาในกรณีที่ผู้ป่วยได้ลอง CPAP  แล้วปฎิเสธการใช้ CPAP และเครื่องมือทางทันตกรรม  ซึ่งการผ่าตัดจะทำมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับตำแหน่งและสาเหตุของการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบนค่ะ

การรักษานอนกรนด้วยวิธีผ่าตัดไม่ได้ทำให้อาการนอนกรนหรือภาวะหยุดหายใจหายขาด  หลังผ่าตัดอาการนอนกรนอาจยังเหลืออยู่ หรือมีโอกาสกลับมาใหม่ได้ ดังนั้น ผู้รับการรักษานอนกรนควรปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง ดังนี้ค่ะ

  • อย่าปล่อยให้น้ำหนักเพิ่มเป็นอันขาด เนื่องจากใส่เครื่อง CPAP, เครื่องมือทันตกรรม, nasal EPAP หรือการผ่าตัด วิธีรักษานอนกรนเหล่านี้เป็นการขยายทางเดินหายใจที่แคบให้กว้างขึ้น ถ้าคุณปล่อยให้น้ำหนักเพิ่ม ไขมันจะไปสะสมอยู่รอบผนังช่องคอ ทำให้ทางเดินหายใจแคบมากขึ้น (ในกรณีรักษานอนกรนโดยใช้เครื่อง CPAP, เครื่องมือทันตกรรม หรือ nasal EPAP) หรือกลับมาแคบใหม่ได้ (ในกรณีรักษานอนกรนโดยการผ่าตัด) ซึ่งจะทำให้อาการนอนกรนกลับมาเหมือนเดิม หรือแย่กว่าเดิมได้ค่ะ
  • ต้องหมั่นออกกำลังกายอย่างเสมอ หลังเข้ารับการรักษานอนกรน เพื่อให้กล้ามเนื้อบริเวณทางเดินหายใจส่วนบนตึงตัวและระชับ เนื่องจากเมื่ออายุผู้ป่วยมากขึ้น เนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อบริเวณทางเดินหายใจส่วนบนจะหย่อนยานตามอายุ ทำให้ทางเดินหายใจแคบมากขึ้น (ในกรณีรักษานอนกรนโดยใช้เครื่อง CPAP, เครื่องมือทันตกรรม หรือ nasal EPAP) หรือกลับมาแคบใหม่ได้ (ในกรณีรักษานอนกรนโดยการผ่าตัด) เพราะฉะนั้น การออกกำลังกายแบบแอโรบิกอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้การหย่อนยานดังกล่าวช้าลงค่ะ

แม้ว่าคุณจะรับการรักษานอนกรนแล้ว แต่อย่าชะล่าใจและเมินการดูแลสุขภาพเป็นอันขาดนะคะ เพราะอาการกรนอาจกลับมาได้อีกหากไม่ดูแลตนเองตามหลักปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงคนรอบข้างก็ควรเอาใจใส่ผู้ที่รับการรักษานอนกรนอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ ก็เพื่อป้องกันมิให้เกิดอาการกรนรบกวนสุขภาพและช่วงเวลาพักผ่อนนอนหลับของคุณได้อีกต่อไปนั่นเองค่ะ