ฉีดฟิลเลอร์แล้วบวมผิดปกติ อันตรายจริงไหม?
เกิดเรื่องราวสุดสะเทือนใจในวงการความงาม! เมื่อมีผู้เสียหายรายหนึ่งได้ออกแชร์ประสบการณ์ผ่านโลกออนไลน์ว่า หลังเข้ารับการฉีดฟิลเลอร์เมื่อหลายปีก่อน แต่จู่ ๆ กลับเกิดอาการอักเสบอย่างรุนแรง ใบหน้าบวม ๆ ยุบ ๆ ผิดปกติอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นใจ และการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก โดยในกรณีนี้ นับเป็นอุทาหรณ์ครั้งใหญ่ที่ตอกย้ำถึงความสำคัญ ในการเลือกคลินิกความงามที่ได้มาตรฐาน ใช้ฟิลเลอร์แท้ที่ผ่านการรับรองจาก อย. ไปจนถึงการปฏิบัติตัวหลังฉีดตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
ในบทความนี้ เราจะพามาเจาะลึก และไขข้อสงสัยเกี่ยวกับ การฉีดฟิลเลอร์แล้วบวมผิดปกติว่า เกิดจากสาเหตุอะไร? อันตรายไหม? มีวิธีแก้ไขอย่างไร? พร้อมแนะนำแนวทางในการปฏิบัติตัวหลังฉีดฟิลเลอร์อย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันการเกิดผลข้างเคียงอันตรายในระยะยาว
ฉีดฟิลเลอร์แล้วบวมผิดปกติ เกิดจากสาเหตุอะไร? อันตรายไหม? มีวิธีแก้อย่างไร?
ฉีดฟิลเลอร์แล้วบวม แบ่งออกเป็นกี่ประเภท?
อาการบวมหลังฉีดฟิลเลอร์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ขึ้นอยู่กับสาเหตุ และลักษณะของอาการ ดังนี้
- ฉีดฟิลเลอร์แล้วบวมปกติ
การฉีดฟิลเลอร์แล้วบวมปกติ ส่วนใหญ่จะมาจากการบวมเข็ม บวมยาชา หรือบวมจากตัวฟิลเลอร์ ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังฉีดในทันที และจะค่อย ๆ ยุบลงเองภายใน 1 สัปดาห์หลังฉีด โดยสามารถดูแลตัวเองได้ด้วยการประคบเย็นเบา ๆ หรือปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
- ฉีดฟิลเลอร์แล้วบวมผิดปกติ
การฉีดฟิลเลอร์แล้วบวมผิดปกติ สามารถสังเกตได้จากอาการบวม ๆ ยุบ ๆ ผิวเปลี่ยนสี ปวดรุนแรง กดเจ็บหรือมีหนองร่วมด้วย โดยส่วนใหญ่จะมาจากการติดเชื้อ อักเสบ หรือร่างกายเกิดปฏิกิริยาต่อต้านสารในฟิลเลอร์ ซึ่งในกรณีนี้อาจเกิดขึ้นหลังฉีดในทันที หรือเกิดขึ้นหลังฉีดไปแล้วหลายปี โดยสามารถแก้ไขได้ด้วยการฉีดสลายฟิลเลอร์ หรือขูดฟิลเลอร์ออก ขึ้นอยู่กับการประเมินของแพทย์
ฉีดฟิลเลอร์แล้วบวมผิดปกติ อันตรายไหม?
โดยปกติแล้ว หลังฉีดฟิลเลอร์จะมีอาการบวมแดงเล็กน้อยในบริเวณที่ฉีด ซึ่งถือเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นได้ทั่วไป และไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย โดยจะค่อย ๆ ดีขึ้นเอง ภายใน 1 สัปดาห์หลังฉีด แต่หากอาการบวมที่เกิดขึ้นนั้น มีลักษณะบวม ๆ ยุบ ๆ แบบผิดปกติสลับกันไป หรือมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดรุนแรง ผิวเปลี่ยนสี มีหนอง กดเจ็บ หรือเป็นไข้ อาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะแทรกซ้อนอันตราย ซึ่งต้องได้รับการรักษาจากแพทย์โดยด่วน
ฉีดฟิลเลอร์แล้วบวมผิดปกติ เกิดจากสาเหตุอะไร?
การฉีดฟิลเลอร์แล้วบวมผิดปกติ สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้
- ใช้ฟิลเลอร์ปลอมไม่มีคุณภาพ
การฉีดฟิลเลอร์แล้วบวมผิดปกติเกิดจาก การใช้ฟิลเลอร์ปลอมที่ไม่ผ่านการรับรอง อย. หรือใช้ฟิลเลอร์ที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งอาจมีสารปนเปื้อนที่ก่อให้เกิดการอักเสบอย่างรุนแรง จนทำให้เกิดอาการบวม ๆ ยุบ ๆ ผิดปกติหลังฉีดฟิลเลอร์ได้
- ร่างกายเกิดปฏิกิริยาต่อต้านฟิลเลอร์
การฉีดฟิลเลอร์แล้วบวมผิดปกติเกิดจาก ร่างกายเกิดปฏิกิริยาต่อต้านสารในฟิลเลอร์ ถึงแม้ว่าฟิลเลอร์ที่ใช้จะเป็นฟิลเลอร์แท้ แต่ในบางกรณีร่างกายอาจมองว่าฟิลเลอร์เป็นสารแปลกปลอม และพยายามกำจัด จนสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาต่อต้านสารในฟิลเลอร์ ทำให้เกิดอาการอักเสบ หรือบวมผิดปกติหลังฉีดได้
- แพทย์ขาดความชำนาญ
การฉีดฟิลเลอร์แล้วบวมผิดปกติเกิดจาก แพทย์ที่ฉีดขาดความรู้ และความชำนาญ ซึ่งแพทย์อาจพลาดฉีดผิดชั้นผิว หรือใช้เทคนิคในการฉีดที่ไม่ถูกต้อง จนทำให้เกิดอาการบวม เป็นก้อน หรือผิวไม่เรียบเนียนหลังฉีดได้
- ขั้นตอนการฉีดไม่สะอาด
การฉีดฟิลเลอร์แล้วบวมผิดปกติเกิดจาก การใช้อุปกรณ์ที่ไม่ปลอดเชื้อ หรือขั้นตอนการฉีดที่ไม่สะอาด ซึ่งอาจมีการปนเปื้อนของเชื้อโรค หรือสิ่งสกปรกขณะฉีด จนส่งผลให้เกิดการอักเสบ หรือบวมผิดปกติหลังฉีดได้
- ปฏิบัติตัวผิดวิธีหลังฉีด
การฉีดฟิลเลอร์แล้วบวมผิดปกติเกิดจาก การปฏิบัติตัวผิดวิธีหลังฉีด ซึ่งอาจเป็นการกระตุ้นให้เกิดอาการอักเสบ หรือบวมผิดปกติได้ เช่น การกดใบหน้าแรงเกินไป การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ หรือแม้แต่การรับประทานอาหารหมักดอง
- ฟิลเลอร์กระตุ้นการอักเสบในระยะยาว
การฉีดฟิลเลอร์แล้วบวมผิดปกติเกิดจาก ฟิลเลอร์กระตุ้นการอักเสบในระยะยาว แม้จะเป็นกรณีที่พบได้ไม่บ่อยนัก แต่บางครั้งร่างกายอาจเกิดปฏิกิริยาอักเสบต่อฟิลเลอร์หลังฉีดไปแล้วหลายเดือน หรือหลายปี ซึ่งทำให้มีอาการบวม ๆ ยุบ ๆ ผิดปกติร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น ผิวเปลี่ยนสี ปวดรุนแรง หรือมีหนองหลังฉีดได้
ฉีดฟิลเลอร์แล้วบวมผิดปกติ แก้ไขได้อย่างไร?
แนวทางการรักษา หรือแก้ไขหลังฉีดฟิลเลอร์แล้วเกิดอาการบวมผิดปกติ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งการประเมินของแพทย์ ลักษณะของอาการ และระดับความรุนแรงของปัญหา ซึ่งโดยส่วนใหญ่ แนวทางในการแก้ไขฟิลเลอร์ มีดังนี้
- ฉีดสลายฟิลเลอร์
การฉีดสลายฟิลเลอร์ จะสามารถใช้ได้ในกรณีที่ฉีดฟิลเลอร์ประเภท Hyaluronic Acid (HA) เท่านั้น โดยจะใช้เอนไซม์ที่มีชื่อว่า Hyaluronidase ในการเข้าไปทำลายโครงสร้างโมเลกุลของ HA ในบริเวณที่มีปัญหา ทำให้ฟิลเลอร์บริเวณที่ฉีดค่อย ๆ แตกตัว และยุบลงภายใน 1 สัปดาห์หลังฉีด ซึ่งอาจต้องมีการฉีดซ้ำอย่างน้อย 1 – 3 ครั้ง ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของปัญหา
- เจาะ หรือดูดฟิลเลอร์ออก
การเจาะ หรือดูดฟิลเลอร์ออก จะสามารถใช้ได้ในกรณีที่ฟิลเลอร์ยังเป็นของเหลว มีอาการบวมอักเสบ และไม่สามารถสลายได้ด้วย Hyaluronidase จึงจำเป็นต้องใช้เข็มดูด หรือเจาะในบริเวณที่มีปัญหา เพื่อนำฟิลเลอร์ออก ซึ่งวิธีการนี้จะไม่สามารถนำฟิลเลอร์ออกมาได้ทั้งหมด
- ผ่าตัด หรือขูดฟิลเลอร์ออก
การผ่าตัด หรือขูดฟิลเลอร์ออก จะสามารถใช้ได้ในกรณีที่ฟิลเลอร์เป็นก้อนแข็งขนาดใหญ่ มีพังผืดล้อมรอบ และไม่สามารถสลายได้ด้วย Hyaluronidase โดยจะผ่าตัดเปิดแผลในบริเวณที่มีปัญหา เพื่อนำฟิลเลอร์ออกมาโดยตรง ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน และไม่สามารถนำฟิลเลอร์ออกมาได้ทั้งหมด
ข้อควรปฏิบัติหลังทำการฉีดฟิลเลอร์
- หลังทำการฉีดฟิลเลอร์ หลีกเลี่ยงการจับ นวด หรือกดแรงบริเวณที่ฉีด
- หลังทำการฉีดฟิลเลอร์ งดการแต่งหน้าในบริเวณที่ฉีดช่วง 12 – 24 ชั่วโมงแรก
- หลังทำการฉีดฟิลเลอร์ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่
- หลังทำการฉีดฟิลเลอร์ งดออกกำลังกายหนักที่ต้องใช้แรงมาก
- หลังทำการฉีดฟิลเลอร์ งดโดนแสงแดด ความร้อน หรืออยู่ในสถานที่ที่มีอุณหภูมิสูง
- หลังทำการฉีดฟิลเลอร์ งดรับประทานของหมักดอง อาหารดิบ และอาหารรสจัด
- หลังทำการฉีดฟิลเลอร์ งดใช้ผลิตภัณฑ์ประเภทผลัดเซลล์ผิวที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง
- หลังทำการฉีดฟิลเลอร์ ควรดื่มน้ำอย่างสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ
- หลังทำการฉีดฟิลเลอร์ สังเกตอาการผิดปกติ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
อาการฟิลเลอร์แล้วบวมผิดปกติ ถือเป็นที่สัญญาณเตือนไม่ควรมองข้าม หากเกิดขึ้นควรรีบทำการพบแพทย์โดยด่วน เพื่อตรวจประเมิน และทำการรักษาอย่างเหมาะสม ดังนั้น การเลือกคลินิกที่ได้มาตรฐาน แพทย์ที่มีความชำนาญ และใช้ฟิลเลอร์แท้ที่ผ่านการรับรองจาก อย. จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรพิจารณาอย่างถี่ถ้วน รวมทั้งหลังฉีดควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอันตรายในระยะยาว
*ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับสภาพผิวแต่ละบุคคล ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเข้ารับบริการ
*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯกำหนด